วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ข้อควรปฏิบัติหลังจากถอดเครื่องมือจัดฟัน

ข้อควรปฏิบัติหลังจากถอดเครื่องมือจัดฟัน

1. ควรใส่เครื่องมือคงสภาพฟัน หรือ retainer ไว้ตลอดเวลาทั้งวัน โดยเฉพาะในช่วงแรก หลังถอดเครื่องมือจัดฟันใหม่ ๆ ยกเว้นเวลาทานอาหาร หรือแปรงฟัน

2. ถ้าทำ retainer หาย ควรจะมาพบทันตแพทย์เพื่อทำ retainer ใหม่เร็วที่สุด ก่อนที่ฟันจะมีการเคลื่อนที่จากตำแหน่งเดิม

3. ควรรักษาความสะอาดของสุขภาพช่องปาก และ retainer อย่างเคร่งครัด สม่ำเสมอ

4. ควรแปรง retainer ทุกครั้งพร้อมกับการแปรงฟัน

5. ไม่ควรใช้กระดาษทิชชู่ห่อ retainer ขณะทานอาหาร หรือขณะถอดรีเทนเนอร์ เพราะอาจจะทำให้ retainer หายได้

6. ไม่ควรเก็บ retainer ไว้ในกระเป๋า เพราะอาจจะเสี่ยงต่อการบิดเบี้ยว หรือแตกหักได้

7. กลับมาตรวจฟัน และสภาพของ retainer อย่างเคร่งครัดตามนัดของทันตแพทย์


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือปรึกษาฟรีที่ คลินิกทันตกรรมสุขุมวิท 101/1


จัดฟันโดยทันตแพทย์เฉพาะสาขาด้านจัดฟัน

http://www.dentalsiam.com/

การดูแลสุขภาพฟันในระหว่างจัดฟัน

การดูแลสุขภาพฟันในระหว่างจัดฟัน

ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดในคนไข้ที่ติดเครื่องมือจัดฟันคือ การมีเหงือกอักเสบ และมีฟันผุ เนื่องมาจากการดูแลสุขภาพช่องปากที่ยากลำบากขึ้น

มีข้อแนะนำในการดูแลความสะอาดสุขภาพช่องปาก ดังนี้

1. ควรแปรงฟันทุกครั้งหลังการรทานอาหาร และก่อนนอน เนื่องจากในคนไข้ที่ติดเครื่องมือจัดฟัน ในระหว่างที่ทานอาหาร จะมีเศษอาหารติดอยู่ตามซอกฟันเยอะมาก บางครั้งการบ้วนปากเพียงอย่างเดียวไม่สามารถกำจัดเศษอาหารที่ตกค้างออกได้หมด

2. ถ้าเป็นไปได้ก็ควรใช้ไหมขัดฟันทุกครั้งหลังทานอาหารเช่นเดียวกัน แต่ถ้าไม่สะดวกก็ต้องใช้วันละ 1 ครั้ง ก่อนแปรงฟันตอนเย็น

3. กรณีที่ใช้ไหมขัดฟันไม่สะดวก อาจจะเลือกใช้เป็น ไหมขัดฟันชนิดพิเศษ (Superfloss) ช่วยทำความสะอาดแทน โดยใช้ส่วนปลายของไหมขัดฟันชนิดพิเศษซึ่งมีความแข็งสอดเข้าไประหว่างฟัน และลวดจัดฟัน
4. ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุ

5. ใช้น้ำยาบ้วนปากมีฟลูออไรด์อย่างน้อยวันละครั้งเพื่อลดอัตราการเกิดฟันผุ

6. การใช้แปรงสีฟันที่ออกแบบมาเฉพาะคนไข้จัดฟันจะสามารถทำความสะอาดได้ง่าย และสะอาดกว่าการใช้แปรงสีฟันธรรมดาใช้น้ำยาบ้วนปากมีฟลูออไรด์อย่างน้อยวันละครั้งเพื่อลดอัตราการเกิดฟันผุ

7. การใช้แปรงซอกฟัน จะสามารถเข้าไปทำความสะอาดซอกฟัน และบริเวณใต้ลวดจัดฟันได้ ทำโดยการสอดหัวแปรงเข้าใต้ลวดระหว่างซอกฟัน และหมุนเบาๆ

8. ควรจะขูดหินปูน ร่วมกับการตรวจเช็คฟันผุ ทุก 6 เดือน เนื่องจากในคนไข้ที่ติดเครื่องมือจัดฟันจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเหงือกอักเสบ และฟันผุได้ง่ายกว่าคนทั่วไป


ข้อควรระวังในระหว่างจัดฟัน

1. หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็งๆ เหนียว กรอบๆ เช่นเคี้ยวก้อนน้ำแข็ง ปลาหมึก ถั่ว หมากฝรั่ง เพราะอาจจะทำให้เครื่องมือหลุดได้ ถ้าเครื่องมือหลุดบ่อยๆ ก็ต้องกลับไปให้หมอฟันติดให้ใหม่ เสียเวลาและค่าใช้จ่าย

2. ไม่ควรกัด หรือเคี้ยวอาหารแข็ง เหนียว เช่น หมากฝรั่ง น้ำแข็ง เพราะจะทำให้เครื่องมือที่ติดอยู่กับฟันหลุดได้ หรืออาจจะทำให้ลวดที่ยึดอยู่กับเครื่องมือจัดฟันงอ หรือ หักได้

3. อาหารที่รับประทานที่เป็นชิ้นใหญ่ ควรตัดแบ่งเป็นชิ้นให้พอดีคำ ไม่ควรใช้ฟันในการกัดแบ่ง

4. ควรเลือกทานอาหารอ่อน โดยเฉพาะตอนที่เพิ่งจะติดเครื่องมือ หรือเปลี่ยนลวดใหม่ๆ ถ้ามีเส้นลวดเล็กๆ ทิ่มกระพุ้งแก้ม หรือริมฝีปาก ให้ใช้ของไม่มีคม เช่น ยางลบปลายดินสอซึ่งต้องทำความสะอาดก่อนโดยการเช็ดแอลกอฮอล์ กดปลายลวดเข้าไป หากไม่สามารถกดปลายลวดให้เข้าไปได้ ให้ใช้ขี้ผึ้งที่ทันตแพทย์ให้มาปิดปลายเส้นลวดก่อน แล้วจึงมาพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไข และปรับแต่งเส้นลวดใหม่บริเวณนั้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือปรึกษาฟรีที่ คลินิกทันตกรรมสุขุมวิท 101/1

จัดฟันโดยทันตแพทย์เฉพาะสาขาด้านจัดฟัน
http://www.dentalsiam.com/

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการจัดฟัน

ทันตกรรมจัดฟัน

เป็นการแก้ไขความผิดปกติในด้านของ การเรียงตัวของฟันที่ไม่สวยงาม เช่น ฟันยื่น ฟันซ้อนเก และแก้ไขความผิดปกติของการสบฟัน เพื่อให้มีลักษณะการสบฟันที่ถูกต้อง สามารถเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งลดอัตราเสี่ยงในการเกิดฟันผุ หรือโรคเหงือก ที่มีสาเหตุมาจากการทำความสะอาดเหงือก และฟันได้อย่างไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะในบริเวณ ที่มีฟันเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติ และที่สำคัญสำหรับคนที่มีฟันห่าง ก็จะช่วยให้สามารถพูดออกเสียงได้อย่างถูกต้องชัดเจน และนอกจากนี้การมีฟันที่เรียงตัวอย่างถูกต้องสวยงาม ยังช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพ และเพิ่มความมั่นใจในการเข้าสังคมอีกด้วย

ลักษณะของฟันที่อาจจะต้องได้รับการจัดฟัน
• ฟันบนยื่นออกมาข้างหน้ามาก
• ฟันล่างยื่นออกมาข้างหน้ามาก
• มีลักษณะการสบฟันแบบฟันล่างคร่อมฟันบน
• เมื่อสบฟันสนิทแล้วมีช่องว่างระหว่างฟันบนกับฟันล่าง
• จุดกึ่งกลางระหว่างซ้ายและขวาของฟันบนและฟันล่างไม่ตรงกัน
• ฟันซ้อนเก
• ฟันบิด
• ฟันห่าง

การจัดฟันแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. การจัดฟันด้วยเครื่องมือแบบถอดได้ เหมาะกับคนไข้เด็ก อายุประมาณ 8-11 ปี ยังมีฟันน้ำนมเหลืออยู่บางซี่ โดยจะทำในกรณีที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นไม่มากนัก หรือจัดเพื่อเตรียมสภาพฟันก่อนจัดฟันแบบติดแน่นต่อไป

2. การจัดฟันด้วยเครื่องมือแบบติดแน่น เหมาะกับคนไข้อายุ 10 ปีขึ้นไปซึ่งเริ่มมีฟันแท้ขึ้นเกือบครบทั้งปากจนถึงวัยผู้ใหญ่ เป็นการจัดฟันเพื่อให้ฟันมีการเรียงตัวสวยงาม และมีโครงสร้างใบหน้าที่มีความสมดุล ส่วนใหญ่แล้วการจัดฟันแบบติดแน่นจะใช้เวลาในการจัด 2-3 ปี ภายหลังการจัดฟัน จะต้องมีการใส่เครื่องมือคงสภาพฟัน หรือเรียกว่า retainer เพื่อที่จะคงตำแหน่งของฟันแต่ละซี่ไว้ให้อยู่ในตำแหน่งเดิม ซึ่งถ้าไม่ใส่เครื่องมือคงสภาพฟันนี้ หรือใส่ไม่สม่ำเสมอ ก็จะทำให้ฟันล้มได้ง่าย และฟันอาจจะเคลื่อนมายังตำแหน่งเดิมก่อนที่จะจัดฟัน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือปรึกษาฟรีที่ คลินิกทันตกรรมสุขุมวิท 101/1
จัดฟันโดยทันตแพทย์เฉพาะสาขาด้านจัดฟัน
http://www.dentalsiam.com/